วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

รวม Blogger

รวม Blogger


นางสาวนุชจิรา  ปิ่นแก้ว  5320600429

นางสาวมุทิตา ชมชื่น 5320600445
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600445/
http://mutita0445.blogspot.com/

นายธนะ จิตต์กระจ่าง 5320600780

นายศักดิ์ณรงค์ พุ่มเพิ่ม 5320600461
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600461/index.html
http://saknarong461.blogspot.com/

นางสาววนิดา ทิพย์กมลธนกุล 5320602171
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602171/
http://wanida171.blogspot.com/

นายอนุชิต หอมทอง 5320602197
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602197/
http://anuchit197.blogspot.com/

นางสาวสายสุนีย์ สืบสุข 5320601751
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601751/
http://saysunee1751.blogspot.com/

นายรณกร ไข่นาค 5320602685
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602685/
http://ronnakorn2685.blogspot.com/

นางสาวปรวีร์ธิดา อัครวิวัฒกุล 5320600801
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600801/
http://paulravetida0801.blogspot.com/

นางอรรถชัย จันทร์บางยาง 5320601794
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601794/index.html
http://atthachai1794.blogspot.com/

นางสาวภัสรา เพ็งใย 5320602707
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602707/index.html
http://pussara707.blogspot.com/

นางสุรเชษฐ์ พลฉวี 5320601778
https://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601778/index.html
http://surachet1778.blogspot.com/


นางสาววนานุรัตน์ ดวงจินดา  5320602472
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602472/
http://wananurat02472.blogspot.com/

นางสาวพชรพร ทิมอินทร์ 5320601719
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601719/index.html
http://phacharaphorn719.blogspot.com/

นางสาววิภาดา ทรัพย์พร้อม 5320601743
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601743/index.html
http://vipada1743.blogspot.com/

นางสาวนิสารัตน์ กลีบบัวทอง 5320601697
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601697/index.html
https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=6066477698407146810#allposts


วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Big Data

Big Data 
               คือปริมาณของข้อมูล ที่มีอย่างมหาศาล มีขนาดใหญ่เกินกว่าความสามารถของซอฟต์แวร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปจะประมวลผลได้Big Data จึงต้องอาศัยความสามารถเฉพาะทาง กับเทคโนโลยีขั้นสูงที่ต้องอาศัยนวัตกรรมของ Cloud Computing 



ที่มา http://www.opencolleges.edu.au/informed/learning-analytics-infographic/

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความรู้ ภาพ ตัวอย่าง กิจกรรม ประโยชน์ หัวใจของการเรียน Collaborative Learning

การเรียนรู้แบบพึ่งพา (Collaborative Learning)


Collaborative Learning เป็นการเรียนรู้แบบพึ่งพา และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ใหญ่กว่า Cooperative Learningมีโครงสร้างของงานมีการจัดโครงสร้างน้อยกว่าคือ ill- Structure เพื่อให้ได้คำตอบที่มีความหลากหลาย  มีการเรียนรู้และทักษะที่ไม่มีการจำกัดในเนื้อหามุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้กลไกของการวิเคราะห์ของกลุ่มและให้ผู้เรียนตอบสนองต่อการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆที่ได้รับและการไตร่ตรองความรู้สึกของตน

ความหมายของ Collaborative Learning
Collaborative Learning เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในขณะที่ผู้เรียนและคณะได้ทำงานร่วมกัน
เพื่อสร้างความรู้ เป็นศาสตร์การสอน (Pedagogy) ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่การสร้างความหมายร่วมกัน และ
เป็นกระบวนการที่อุดมไปด้วยความรู้และขยายมากขึ้น (Matthews,1996)
Collaborative Learning ผู้คนมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนกับผู้รอบรู้ มีความรับผิดชอบระหว่างกลุ่ม ทั้งที่อยู่ในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนจะ มีการสร้างกลุ่มทำงาน (group work) อยู่รอบๆกิจกรรมในชั้นเรียน มีการอภิปรายระหว่างบุคคลด้วยการบรรยายสั้นๆ มีการศึกษาค้นคว้ากันเป็นทีมทั้งเทอมหรือตลอดปี เป้าหมายและกระบวนการเป็นกิจกรรมที่หลากหลาย สมาชิกบางคนในกลุ่มหรือคณะร่วมกันทำงานกันเป็นกลุ่มเล็กๆโดยเป็นลำดับขั้นตอน ส่วนคนอื่นๆอาจพัฒนาตนเองตามความสนใจ หรือมีการใช้คำถามในการพึ่งพาช่วยเหลือกันในการเรียนรู้

พื้นฐานทางทฤษฎีของ Collaborative Learning
Collaborative Learning มีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีทางพุทธิปัญญา และคอนสตรัคติวิสต์
ดังที่ Barkley , Cross and Major (2004) ได้แสดงไว้ ดังนี้
1           1.   การเชื่อมต่อกับพุทธิปัญญา (Cognitive Connection) นักพุทธิปัญญาสมัยใหม่ได้กล่าวถึง
โครงสร้างทางจิตใจ (mind) ที่เรียกว่า สกีมา (schema หรือ schemata) ซึ่งเป็นโครงสร้างประกอบด้วย
ข้อเท็จจริง ความคิด ความสัมพันธ์ระหว่างระบบต่างๆ เช่น คนมีสกีมาเกี่ยวกับวิทยาลัย จะเชื่อมโยงไป
ถึงลักษณะของนักเรียน รูปแบบของคณะ ที่ตั้ง เป็นต้น ดังนั้นสกีมาจึงเป็นการรวบรวมจัดระเบียบ
สารสนเทศเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเป็นความคิดรวบยอด (concept) จากที่ยกตัวอย่าง แต่ละคนจะมีสกีมา
เรื่องวิทยาลัยแตกต่างกัน ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้นถ้าเขามีความรู้เดิมมาก่อน ทั้งนี้การค้นหา
สารสนเทศในสมองเป็นเรื่องที่ยาก มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับความลึกซึ้ง (deep) และลักษณะผิวเผิน
(surface) ทำให้เกิดความแตกต่างทางการเรียนรู้ของ Saljo ซึ่งพบคำตอบในรูปแบบที่เป็นลำดับเกี่ยวกับ
ความเข้าใจได้ดังนี้
1) การเรียนรู้เป็นการได้มาซึ่งสารสนเทศ หรือการรู้ให้มาก (knowing a lot)
2) การเรียนรู้ คือความทรงจำ (memorizing)
3) การเรียนรู้เป็นการได้มาซึ่งข้อเท็จจริง และทักษะที่ใช้
4) การเรียนรู้จะสร้างสัมผัสการรับรู้ หรือสร้างความหมาย
5) การเรียนรู้เป็นการทำให้เข้าใจ (comprehension) เป็นความสามารถในการทำความเข้าใจ
(Understanding) ด้วยการตีความหมายหลายครั้ง (reinterpret)
2.         2.     การเชื่อมต่อทางสังคม (Social Connections) จากฐานแนวคิดของ Vygotsky ที่กล่าวถึง
ZPD หรือ Zone of Proximal Development ซึ่งเป็นพัฒนาการของความตั้งใจในการแก้ปัญหาที่
สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้กับการต้องได้รับการแนะนำจากผู้ใหญ่หรือการพึ่งพาช่วยเหลือ

ลักษณะเฉพาะของการเรียนรู้แบบ Collaborative Learning
การเรียนรู้ไม่ได้มีในเฉพาะกลุ่มนักเรียนเท่านั้น แต่เป็นการปฏิบัติร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน
ซึ่งครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทางส่วนผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติ แล้วนำประสบการณ์มาแบ่งปันกัน โดยลักษณะ
การเรียนรู้แบบ Collaborative Learning มีดังนี้
1. การแบ่งปันความรู้ระหว่างครูกับผู้เรียน การแบ่งปันความรู้แบบเดิมในห้องเรียนครูเป็นผู้ให้ความรู้ แต่นักเรียนเป็นผลที่ได้จากการปฏิบัติโดยประสบการณ์และเกิดความรู้
2. การแบ่งปันการควบคุมห้องเรียนระหว่างครูกับผู้เรียน ครูเป็นผู้กำหนดเป้าหมายส่วนนักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติตามงานที่ได้รับมอบหมาย และประเมินความสมบูรณ์ขององค์ความรู้ที่ได้ร่วมกันของสมาชิก
3. ครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง โดยผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ที่มีความสำคัญต่อการเรียน
4. ความหลากหลายของสมาชิกในกลุ่ม ครูให้ผู้เรียนจัดกลุ่มแล้วทำงานร่วมกันตามเป้าหมาย

เทคนิค Collaborative Learning
เทคนิคของ Collaborative Learning ได้มีนักการศึกษา Barkley, Cross และ Major
(2004) ได้แบ่งเทคนิควิธีการ collaborative ออกเป็น 5 ลักษณะดังนี้
1. เทคนิคสำหรับการอภิปราย (Techniques for Discussion)


เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ความเห็น ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กัน เนื่องจากการอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจะช่วยผู้เรียนได้ในการหาวิธีการใช้ความคิด และเรียนรู้ด้วยการสื่อสาร กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดเกี่ยวกับหลักการ ลักษณะนิสัย และภาษา ทำให้ผู้เรียนได้มุมมองหลากหลายมีความท้าทาย ชวนคิด ซับซ้อน ซึ่งเทคนิคนี้จะช่วยให้ผู้เรียนลึกซึ้งและอยู่ในความจำได้นาน เทคนิคนี้ค่อนข้างยากที่จะทำให้ผู้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ถ้านักเรียนยังแสดงบทบาทเป็นเพียงผู้ฟังเฉยๆเทคนิคนี้ต้องการการพูดคุย แสดงความคิด ความรู้สึก ความเชื่อ ซึ่งนักเรียนมักไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เพราะกลัวว่ามุมมองของตนเองอาจจะไม่ถูกต้องหรือถูกมองว่าไม่ฉลาด ครูต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดความท้าทายในชั้นเรียนเพื่อให้เกิดการอภิปราย

2.เทคนิคสำหรับการสลับกันสอน (Reciprocal Teaching)



สิ่งที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการสอนแต่ละครั้งคือ ครูและผู้เรียนต้องมีเป้าหมาย ซึ่งวิธีการที่น่าสนใจคือ ให้ผู้เรียนสอนผู้เรียนด้วยกันเอง วิธีการแลกเปลี่ยนหรือสลับกัน (Reciprocal) นักเรียนจะเป็นทั้งครูและผู้เรียน ซึ่งจะมีการร่วมมือเพื่อช่วยเหลือในการเรียนรู้ซึ่งกันและกันผ่านคู่ของตนเองการสอนแบบแลกเปลี่ยนนี้ ในการปฏิบัติจริงพบว่ามีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้มากเป็นการลงมือปฏิบัติมากกว่าจะเป็นผู้รับ ผู้เรียนจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้ได้รับความรู้ หรือความเข้าใจ


3 เทคนิคสำหรับการแก้ปัญหา (Techniques for Problem solving) 


            ครูส่วนมากสนใจพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้เรียน เนื้อหาที่ยุ่งยากจะเป็นแบบฝึกความคิด ปัญหาที่ใช้นำเสนอผู้เรียนที่เป็นยุทธศาสตร์การสอนที่มีประสิทธิภาพคือ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้(Problem-based Learning) เป็นแรงจูงใจให้เกิดการค้นหาความรู้ที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาจนประสบผลสำเร็จ การนำเสนอปัญหาต้องท้าทาย ผู้เรียนจำเป็นต้องฝึกคิด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ในการคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ


4.เทคนิคการใช้กราฟิกและการจัดระเบียบสารสนเทศ (Techniques Using Graphic Information Organizer) 

             บางครั้งภาพมีคุณค่ามากกว่าคำเป็นพันคำ การจัดระเบียบกราฟิกเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการเปลี่ยนสารสนเทศที่ซับซ้อนเป็นการแสดงภาพอย่างมีความหมาย เพราะสารสนเทศที่มีการจัดระเบียบแล้วจะช่วยผู้เรียนให้ค้นพบรูปแบบและการเชื่อมโยงระหว่างความคิด
ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นไปไม่ได้ถ้าทำเพียงลำพัง นอกจากเทคนิคดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์
ระหว่างส่วนต่างๆทั้งหมดที่เป็นภาพรวมและรายละเอียดย่อๆแล้ว ยังช่วยผู้เรียนในการตีความหมาย
การทำความเข้าใจ และทำให้หยั่งรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะการจัดระเบียบกราฟิกจะใช้คำเดี่ยวหรือวลีสั้นๆแล้วผสมผสานกับการแสดงภาพหรือไดอะแกรม การจัดระเบียบกราฟิกจะมีความยืดหยุ่นในการใช้ตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป


5. เทคนิคที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการเขียน (Techniques Focusing on Writing) 

           
              ผู้เรียนใช้การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น ซึ่งการเขียนเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ได้อย่างลึกซึ้ง สร้างความเข้าใจในหลักการและเนื้อหาสำคัญต่อการได้มาซึ่งทักษะการคิด


ประโยชน์ของ Collaborative Learning
  1.  ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มเล็กและมีความหลากหลายของสมาชิกในกลุ่ม
        2.  ไม่จำกัดเนื้อหาและทักษะในการเรียนรู้
        3.  การเรียนรู้แบบพึ่งพาและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
        4.  มีการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดในกลุ่มเล็กทำให้ทุกคนได้แสดงความคิดอย่างทั่วถึง
        5. เป็นการพัฒนาทักษะการคิด การสื่อสารและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นของผู้เรียน
        6. สามารถพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนได้

ที่มา

ที่มาภาพ





ความรู้ ภาพ ตัวอย่าง กิจกรรม ประโยชน์ หัวใจของการเรียน Blended Learning

การเรียนรู้แบบผสมผสาน(Blended learning)





                     การเรียนรู้แบบผสมผสาน(Blended learning)หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นการผสมผสานสื่อของจริงกับสื่อเสมือน ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบการเรียนพบหน้าในชั้นเรียน( Face-to-face) ใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลายโดยทั้งหมดมุ่งไปยังการส่งเสริม การเรียนรู้ของผู้เรียนและการใช้เวลาในการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียนได้อย่างมีคุณภาพ

หัวใจของการเรียนรู้แบบผสมผสาน(Blended learning)



องค์ประกอบกำรเรียนรู้หลักๆที่ใช้ในกำรเรียนรู้แบบผสมผสำนมีอยู่ 3 กลุ่มคือ
1. การเรียนพบหน้า ( Face-to-face) ประกอบด้วยวิธีการต่างๆเช่นการบรรยายหรือ การนำเสนอ(Lecture/presentations) การสาธิต(Demonstration) การทบทวน(Tutorial) การลงมือปฏิบัติ(Workshop) การสัมมนา(Seminar) การแสดงบทบาทสมมติ(Role Play) การจำลองสถานการณ์ (Simulation) การทำโครงงาน(Project) เป็นต้น  วิธีการหลักที่นิยมใช้กันอยู่คือการบรรยายและ การสาธิตทั้งสองวิธีนี้ มีสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถดำเนินการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ กระดานดำ กระดานไวท์บอร์ด  สไลด์ที่สร้างจากโปรแกรม Microsoft PowerPoint  สำหรับการสาธิตนั้นสิ่งจำเป็นที่ใช้ในกำรสนับสนุนการสาธิตมักจะเป็นสื่อของจริงแบบจำลองต่างๆหรือชุดทดลองเพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นนอกจากนั้นสิ่งที่มักนำมาประกอบการสอน บรรยาย สาธิตอีกอย่างคือสื่อมัลติมีเดียได้แก่ภาพ เสียง วีดิโอ โดยนำเสนอผ่านอุปกรณ์ เช่น เครื่องเล่นซีดี ดีวีดีหรือคอมพิวเตอร์
2. ออฟไลน์แบบเรียนด้วยตนเอง (Offline: Individual Work) ผู้เรียนเรียนด้วยการใช้สิ่งต่างๆเช่นหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร ซีดีบันทึกเสียง วีดิทัศน์ ดีวีดี โทรทัศน์ วิทยุเป็นต้นรวมทั้งสื่อแบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Media) เช่นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) ในการเรียนการสอน
3. ออนไลน์ (Online) หมายถึงวิธีการส่งแบบออนไลน์การส่งผ่านซีดี/ดีวีดี การเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-learning เช่นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนอินเทอร์เน็ต) อีเมล์ห้องสนทนา (Chat Room) เว็บบอร์ด(Web Board) กำรประชุมด้วยวีดิโอ(Video Conference) กำรใช้ฐานความรู้ (Knowledge-based) การใช้เครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) การใช้เว็บไซต์กำรใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media เช่น Twitter หรือ Facebook) การเรียนผ่านสื่อเคลื่อนที่ (Mobile Learning) เป็นต้น


 ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน
การเรียนรู้แบบผสมผสานมีสิ่งต่างๆจะต้องพิจารณา ดังนี้
1. เพิ่มทางเลือกของวิธีการนำส่งการเรียนรู้ไปยังผู้เรียนให้มีความหลากหลายมากขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ออกแบบ
2. เกณฑ์การตัดสินความสำเร็จในการเรียนรู้แบบผสมผสานไม่ได้มีเพียงเกณฑ์เดียว เช่น รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำมาพิจารณาร่วมกันได้
3. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานจะต้องพิจารณาประเด็นของความเร็วในการเรียนรู้ ขนาดของผู้เรียน และการสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียน
4. สภาพแวดล้อมทางการเรียนของผู้เรียน จะมีความแตกต่างกันเป็นธรรมชาติซึ่งการจัดการเรียนรู้จะต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์เป็นสำคัญ
5. หน้าที่ของผู้เรียน จะต้องศึกษาและค้นพบตัวเอง เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ตามศักยภาพของตนเอง
6. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานต้องการทีมงานออกแบบที่มีความรู้เรื่องการปรับปรุงด้านธุรกิจด้วย เช่นกัน การเรียนการสอนทางไกลของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ) ถือว่าเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสานเช่นกัน  คอร์สการเรียนภาษาอังกฤษทางไกล ของ แอนดรูส์ บิ๊ก ที่ใช้ระบบ(Bkended Learning for Distance Learning) ซึ่งสามารถสอนนักเรียนพร้อมกันทีเดียวได้เป็นพันคน

               การใช้งานจริง ณ ขณะนี้ สรุป การใช้ Blended Learning ในองค์กร หรือบริษัท ช่วยในการประชุม การสั่งงาน โดยมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระบบเครือข่าย ส่วนมาก นิยมใช้ระบบ LMS เป็นระบบการบริหาร ผ่าน Sever เป็นระบบเครือข่ายผู้ใช้งานในระบบ
       1 กลุ่มผู้บริหาร Administrator ทำหน้าที่ดูแลระบบ
       2 กลุ่ม ครู อาจารย์ Instructor/ teacher ทำหน้าที่สอน
       3 กลุ่มผู้เรียน Student /Guest นักเรียน นักศึกษาสำหรับขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานของ Beijing Normal University (BNU) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักดังนี้
        1. ขั้นก่อนการวิเคราะห์ (Pre-Analysis) เป็นขั้นตอนแรกของการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบการพิจารณาข้อมูลทั่ว ๆ ไป ได้แก่
           1.1 การวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้เรียน
           1.2 การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้
           1.3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้แบบผสมผสานผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรก จะเป็นรายงานผลที่จะนำไปใช้ในขั้นต่อไป

        2. ขั้นการออกแบบกิจกรรมและการออกแบบวัสดุการเรียนรู้ (Design of Activity and Resources) เป็นขั้นตอนที่สองที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรกมาออกแบบกิจกรรมและวัสดุ การเรียนรู้ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ส่วนย่อย ๆ ได้แก่
          2.1 การออกแบบภาพรวมของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย
            - กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละหน่วยเรียน
            - กลยุทธ์การนำส่งบทเรียนในการเรียนรู้แบบผสมผสาน
            - ส่วนสนับสนุนการเรียนรู้แบบผสมผสาน
         2.2 การออกแบบกิจกรรมแต่ละหน่วยเรียนประกอบด้วย
            - นิยามผลการกระทำของผู้เรียน
            - กิจกรรมในแต่ละวัตถุประสงค์
            - การจัดกลุ่มของกิจกรรมทั้งหมด
            - การประเมินผลในแต่ละหน่วยเรียน
         2.3 การออกแบบและพัฒนาวัสดุการเรียนรู้ประกอบด้วย
            - การเลือกสรรเนื้อหาสาระ
            - การพัฒนากรณีต่าง ๆ
            - การนำเสนอผลการออกแบบและการพัฒนาผลที่ได้จากขั้นตอนที่สอง จะเป็นรายละเอียดของการออกแบบบทเรียนในแต่ละส่วน

      3. ขั้นการประเมินผลการเรียนการสอน (Instructional Assessment) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานประกอบด้วย
        3.1 การประเมินผลขั้นตอนการเรียนรู้
        3.2 การจัดการสอบตามหลักสูตร
        3.3 การประเมินผลกิจกรรมทั้งหมดผลที่ได้จากขั้นตอนสุดท้าย จะนำไปพิจารณาตรวจปรับกระบวนการออกแบบในแต่ละขั้นที่ผ่านมาทั้งหมด เพื่อให้การเรียนรู้แบบผสมผสานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับผู้เรียน อย่างแท้จริง

ข้อดี และข้อเสีย

 ข้อดี
     1. มีการแบ่งเวลาเรียนได้อย่างอิสระ
     2. มีการเลือกสถานที่เรียนได้อย่างอิสระ
     3. เรียนด้วยระดับความรวดเร็วในการเรียนรู้ของตนเอง
     4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
     5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต
     6. มีการเรียนกับสื่อมัลติมีเดีย
     7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
     8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี
     9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว (กาเย่)
   10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้(กาเย่)
   11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้(กาเย่)
   12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา (กาเย่)
   13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน
   14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้
   15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง
   16. ใช้ในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการอบรม สัมมนาได้

ข้อเสีย

   1. ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความคิดเห็นอย่างรวดเร็ว
   2. มีความล่าช้าในการปฏิสัมพันธ์
   3. การมีส่วนร่วมน้อย โดยผู้เรียนไม่สามารถมีส่วนร่วมทุกคน
   4. ความไม่พร้อมด้าน ซอฟแวร์ Software บางอย่างมีราคาแพง (ของจริง)
   5. ใช้งานค่อนข้างยาก สำหรับผู้ไม่มีความรู้ด้าน ซอฟแวร์ Software
   6. ผู้เรียนบางคนคิดว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะราคาอุปกรณ์ค่อนข้างสูง
   7. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
   8. ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างสูง ในการเรียนการสอนแบบนี้
   9. ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
  10. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการใช้เครือข่าย หรือระบบอินเทอร์เน็ต เกิดปัญหาด้านสัญญาณ
  11. ขาดการปฏิสัมพันธ์แบบ face to faec (เรียลไทม์)



ที่มาภาพ


วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เรื่อง Game Online

Game Online




                   เกมออนไลน์ (Online Game) คือ เกมที่ต้องเล่นผ่านระบบอินเตอร์เน็ต(Internet) โดยผู้เล่นจะต้องทำการลงโปรแกรมเกม (Client) ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองและจะต้องเล่นเกมออนไลน์ผ่าน server โดยข้อมูลต่างๆ ของผู้เล่นจะ ถูกเก็บไว้ ณ server ซึ่งในการเล่นเกมออนไลน์นี้ผู้เล่นจะต้องเสียค่าบริการการเล่นเกมตามอัตราที่ผู้ให้บริการได้ กำหนดไว้

 เกมส์ออนไลน์ได้รับความนิยมมากเนื่องจาก
1. ผู้เล่นได้เข้าสังคมจึงรู้สึกสนุกที่จะมีเพื่อนเล่นเกมส์ไปด้วยกันมากกว่าการเล่นเกมส์คนเดียว
2. เกมส์ออนไลน์หลายเกมที่มีกราฟิกที่สวยงามมาก จึงเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนหันมาเล่นเกมส์ออนไลน์
3. เกมส์ออนไลน์มีกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งมีการเพิ่มแผนที่ในเกม อาวุธ ชุด มอนสเตอร์ใหม่ๆ และอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

ที่มารูปภาพ