วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความรู้ ภาพ ตัวอย่าง กิจกรรม ประโยชน์ หัวใจของการเรียน Collaborative Learning

การเรียนรู้แบบพึ่งพา (Collaborative Learning)


Collaborative Learning เป็นการเรียนรู้แบบพึ่งพา และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ใหญ่กว่า Cooperative Learningมีโครงสร้างของงานมีการจัดโครงสร้างน้อยกว่าคือ ill- Structure เพื่อให้ได้คำตอบที่มีความหลากหลาย  มีการเรียนรู้และทักษะที่ไม่มีการจำกัดในเนื้อหามุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้กลไกของการวิเคราะห์ของกลุ่มและให้ผู้เรียนตอบสนองต่อการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆที่ได้รับและการไตร่ตรองความรู้สึกของตน

ความหมายของ Collaborative Learning
Collaborative Learning เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในขณะที่ผู้เรียนและคณะได้ทำงานร่วมกัน
เพื่อสร้างความรู้ เป็นศาสตร์การสอน (Pedagogy) ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่การสร้างความหมายร่วมกัน และ
เป็นกระบวนการที่อุดมไปด้วยความรู้และขยายมากขึ้น (Matthews,1996)
Collaborative Learning ผู้คนมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนกับผู้รอบรู้ มีความรับผิดชอบระหว่างกลุ่ม ทั้งที่อยู่ในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนจะ มีการสร้างกลุ่มทำงาน (group work) อยู่รอบๆกิจกรรมในชั้นเรียน มีการอภิปรายระหว่างบุคคลด้วยการบรรยายสั้นๆ มีการศึกษาค้นคว้ากันเป็นทีมทั้งเทอมหรือตลอดปี เป้าหมายและกระบวนการเป็นกิจกรรมที่หลากหลาย สมาชิกบางคนในกลุ่มหรือคณะร่วมกันทำงานกันเป็นกลุ่มเล็กๆโดยเป็นลำดับขั้นตอน ส่วนคนอื่นๆอาจพัฒนาตนเองตามความสนใจ หรือมีการใช้คำถามในการพึ่งพาช่วยเหลือกันในการเรียนรู้

พื้นฐานทางทฤษฎีของ Collaborative Learning
Collaborative Learning มีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีทางพุทธิปัญญา และคอนสตรัคติวิสต์
ดังที่ Barkley , Cross and Major (2004) ได้แสดงไว้ ดังนี้
1           1.   การเชื่อมต่อกับพุทธิปัญญา (Cognitive Connection) นักพุทธิปัญญาสมัยใหม่ได้กล่าวถึง
โครงสร้างทางจิตใจ (mind) ที่เรียกว่า สกีมา (schema หรือ schemata) ซึ่งเป็นโครงสร้างประกอบด้วย
ข้อเท็จจริง ความคิด ความสัมพันธ์ระหว่างระบบต่างๆ เช่น คนมีสกีมาเกี่ยวกับวิทยาลัย จะเชื่อมโยงไป
ถึงลักษณะของนักเรียน รูปแบบของคณะ ที่ตั้ง เป็นต้น ดังนั้นสกีมาจึงเป็นการรวบรวมจัดระเบียบ
สารสนเทศเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเป็นความคิดรวบยอด (concept) จากที่ยกตัวอย่าง แต่ละคนจะมีสกีมา
เรื่องวิทยาลัยแตกต่างกัน ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้นถ้าเขามีความรู้เดิมมาก่อน ทั้งนี้การค้นหา
สารสนเทศในสมองเป็นเรื่องที่ยาก มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับความลึกซึ้ง (deep) และลักษณะผิวเผิน
(surface) ทำให้เกิดความแตกต่างทางการเรียนรู้ของ Saljo ซึ่งพบคำตอบในรูปแบบที่เป็นลำดับเกี่ยวกับ
ความเข้าใจได้ดังนี้
1) การเรียนรู้เป็นการได้มาซึ่งสารสนเทศ หรือการรู้ให้มาก (knowing a lot)
2) การเรียนรู้ คือความทรงจำ (memorizing)
3) การเรียนรู้เป็นการได้มาซึ่งข้อเท็จจริง และทักษะที่ใช้
4) การเรียนรู้จะสร้างสัมผัสการรับรู้ หรือสร้างความหมาย
5) การเรียนรู้เป็นการทำให้เข้าใจ (comprehension) เป็นความสามารถในการทำความเข้าใจ
(Understanding) ด้วยการตีความหมายหลายครั้ง (reinterpret)
2.         2.     การเชื่อมต่อทางสังคม (Social Connections) จากฐานแนวคิดของ Vygotsky ที่กล่าวถึง
ZPD หรือ Zone of Proximal Development ซึ่งเป็นพัฒนาการของความตั้งใจในการแก้ปัญหาที่
สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้กับการต้องได้รับการแนะนำจากผู้ใหญ่หรือการพึ่งพาช่วยเหลือ

ลักษณะเฉพาะของการเรียนรู้แบบ Collaborative Learning
การเรียนรู้ไม่ได้มีในเฉพาะกลุ่มนักเรียนเท่านั้น แต่เป็นการปฏิบัติร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน
ซึ่งครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทางส่วนผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติ แล้วนำประสบการณ์มาแบ่งปันกัน โดยลักษณะ
การเรียนรู้แบบ Collaborative Learning มีดังนี้
1. การแบ่งปันความรู้ระหว่างครูกับผู้เรียน การแบ่งปันความรู้แบบเดิมในห้องเรียนครูเป็นผู้ให้ความรู้ แต่นักเรียนเป็นผลที่ได้จากการปฏิบัติโดยประสบการณ์และเกิดความรู้
2. การแบ่งปันการควบคุมห้องเรียนระหว่างครูกับผู้เรียน ครูเป็นผู้กำหนดเป้าหมายส่วนนักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติตามงานที่ได้รับมอบหมาย และประเมินความสมบูรณ์ขององค์ความรู้ที่ได้ร่วมกันของสมาชิก
3. ครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง โดยผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ที่มีความสำคัญต่อการเรียน
4. ความหลากหลายของสมาชิกในกลุ่ม ครูให้ผู้เรียนจัดกลุ่มแล้วทำงานร่วมกันตามเป้าหมาย

เทคนิค Collaborative Learning
เทคนิคของ Collaborative Learning ได้มีนักการศึกษา Barkley, Cross และ Major
(2004) ได้แบ่งเทคนิควิธีการ collaborative ออกเป็น 5 ลักษณะดังนี้
1. เทคนิคสำหรับการอภิปราย (Techniques for Discussion)


เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ความเห็น ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กัน เนื่องจากการอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจะช่วยผู้เรียนได้ในการหาวิธีการใช้ความคิด และเรียนรู้ด้วยการสื่อสาร กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดเกี่ยวกับหลักการ ลักษณะนิสัย และภาษา ทำให้ผู้เรียนได้มุมมองหลากหลายมีความท้าทาย ชวนคิด ซับซ้อน ซึ่งเทคนิคนี้จะช่วยให้ผู้เรียนลึกซึ้งและอยู่ในความจำได้นาน เทคนิคนี้ค่อนข้างยากที่จะทำให้ผู้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ถ้านักเรียนยังแสดงบทบาทเป็นเพียงผู้ฟังเฉยๆเทคนิคนี้ต้องการการพูดคุย แสดงความคิด ความรู้สึก ความเชื่อ ซึ่งนักเรียนมักไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เพราะกลัวว่ามุมมองของตนเองอาจจะไม่ถูกต้องหรือถูกมองว่าไม่ฉลาด ครูต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดความท้าทายในชั้นเรียนเพื่อให้เกิดการอภิปราย

2.เทคนิคสำหรับการสลับกันสอน (Reciprocal Teaching)



สิ่งที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการสอนแต่ละครั้งคือ ครูและผู้เรียนต้องมีเป้าหมาย ซึ่งวิธีการที่น่าสนใจคือ ให้ผู้เรียนสอนผู้เรียนด้วยกันเอง วิธีการแลกเปลี่ยนหรือสลับกัน (Reciprocal) นักเรียนจะเป็นทั้งครูและผู้เรียน ซึ่งจะมีการร่วมมือเพื่อช่วยเหลือในการเรียนรู้ซึ่งกันและกันผ่านคู่ของตนเองการสอนแบบแลกเปลี่ยนนี้ ในการปฏิบัติจริงพบว่ามีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้มากเป็นการลงมือปฏิบัติมากกว่าจะเป็นผู้รับ ผู้เรียนจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้ได้รับความรู้ หรือความเข้าใจ


3 เทคนิคสำหรับการแก้ปัญหา (Techniques for Problem solving) 


            ครูส่วนมากสนใจพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้เรียน เนื้อหาที่ยุ่งยากจะเป็นแบบฝึกความคิด ปัญหาที่ใช้นำเสนอผู้เรียนที่เป็นยุทธศาสตร์การสอนที่มีประสิทธิภาพคือ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้(Problem-based Learning) เป็นแรงจูงใจให้เกิดการค้นหาความรู้ที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาจนประสบผลสำเร็จ การนำเสนอปัญหาต้องท้าทาย ผู้เรียนจำเป็นต้องฝึกคิด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ในการคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ


4.เทคนิคการใช้กราฟิกและการจัดระเบียบสารสนเทศ (Techniques Using Graphic Information Organizer) 

             บางครั้งภาพมีคุณค่ามากกว่าคำเป็นพันคำ การจัดระเบียบกราฟิกเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการเปลี่ยนสารสนเทศที่ซับซ้อนเป็นการแสดงภาพอย่างมีความหมาย เพราะสารสนเทศที่มีการจัดระเบียบแล้วจะช่วยผู้เรียนให้ค้นพบรูปแบบและการเชื่อมโยงระหว่างความคิด
ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นไปไม่ได้ถ้าทำเพียงลำพัง นอกจากเทคนิคดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์
ระหว่างส่วนต่างๆทั้งหมดที่เป็นภาพรวมและรายละเอียดย่อๆแล้ว ยังช่วยผู้เรียนในการตีความหมาย
การทำความเข้าใจ และทำให้หยั่งรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะการจัดระเบียบกราฟิกจะใช้คำเดี่ยวหรือวลีสั้นๆแล้วผสมผสานกับการแสดงภาพหรือไดอะแกรม การจัดระเบียบกราฟิกจะมีความยืดหยุ่นในการใช้ตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป


5. เทคนิคที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการเขียน (Techniques Focusing on Writing) 

           
              ผู้เรียนใช้การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น ซึ่งการเขียนเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ได้อย่างลึกซึ้ง สร้างความเข้าใจในหลักการและเนื้อหาสำคัญต่อการได้มาซึ่งทักษะการคิด


ประโยชน์ของ Collaborative Learning
  1.  ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มเล็กและมีความหลากหลายของสมาชิกในกลุ่ม
        2.  ไม่จำกัดเนื้อหาและทักษะในการเรียนรู้
        3.  การเรียนรู้แบบพึ่งพาและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
        4.  มีการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดในกลุ่มเล็กทำให้ทุกคนได้แสดงความคิดอย่างทั่วถึง
        5. เป็นการพัฒนาทักษะการคิด การสื่อสารและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นของผู้เรียน
        6. สามารถพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนได้

ที่มา

ที่มาภาพ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น