วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เรื่อง Edutainment

Edutainment




Edutainment เกิดจากการสนธิคำศัพท์ 2 คำด้วยกัน คือ คำว่า Education สาระ ความรู้ กับคำว่า Entertainment ความบันเทิง เกิดเป็นคำศัพท์ใหม่ว่า Edutainment ซึ่งมีความหมายว่าการได้รับสาระความรู้ด้วยรูปแบบความบันเทิง เพราะการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สื่อในกลุ่มของ Edutainment แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ
1.สื่อประเภทอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรทัศน์ วีซีดี ดีวีดี หรืออินเตอร์เน็ต
2.สื่อประเภทอุปกรณ์การเรียนรู้ เช่น เกมเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ
3.สื่อประเภทสิ่งพิมพ์ เช่น นิทาน ฯลฯ

           การเลือกสื่อ Edutainment ให้เหมาะสม
 1. เลือกให้เหมาะกับวัย สื่อการเรียนการสอนมีเนื้อหาสาระและวิธีการนำเสนอที่จะเหมาะสม สำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย 
 2. เนื้อหามีประโยชน์ นอกจากการดูคำอธิบายและวิธีการใช้งานที่บอกอย่างละเอียดแล้ว  เช่น หากเป็นลักษณะของการ์ตูนประเภทวีซีดี ควรมีเนื้อเรื่องที่เหมาะสม แฝงด้วยคุณธรรม มีวิธีคิดและวิธีที่แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เหมาะกับวัย
3. มีเทคนิคช่วยจำ เป็นวัยที่กำลังเก็บสะสมคลังคำให้แก่ตัวเอง เพราะฉะนั้นการเลือกสื่อ Edutainment เช่นการสอนสองภาษาผ่านเสียงเพลง ก็จะช่วยให้สามารถจดจำคำต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
 4. ปลอดภัยทั้งเนื้อหาและวัสดุ เริ่มตั้งแต่เนื้อหาที่เด็กจะได้รับนั้น ต้องไม่สื่อและแฝงไปด้วยเรื่องที่ไม่สร้างสรรค์ เรื่องเพศ และความรุนแรง ที่จะทำลายความไร้เดียงสาของเด็กเร็วเกินไป รวมไปถึงวัสดุของสื่อ ประเภทเกมกระต้นพัฒนาการหรือของเล่นที่เด็กสัมผัสโดยตรงต้องปลอดภัย ซึ่งสังเกตได้จากเครื่องหมาย มอก. (มาตรฐานอุตสาหกรรม)
 5. ราคาไม่แพงเกินไป เด็ก ๆ แต่ละช่วงวัยเรียนรู้แตกต่างกัน สื่อสำหรับเด็กวัย 2 ปี อาจจะง่ายเกินไปแล้วเมื่ออายุ 4 ปี การซื้อด้วยราคาที่แพงแต่ใช้งานไม่คุ้มค่ากับราคา
 6.ใช้สื่อกับลูกอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นสื่อประเภทใด ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมและศึกษาเนื้อเรื่องและประโยชน์ของสื่อแต่ละชนิดอย่างถี่ถ้วน 
 7.กำหนดเวลาดูและใช้งาน สื่อ Edutainment ที่เป็นประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หรืออินเตอร์เน็ต ควรกำหนดให้เด็กดูวันละครึ่งชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว

              การใช้สื่อ Edutainment เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการเรียนรู้ที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ สำหรับเด็ก 

ที่มารูปภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น