วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายและอธิบาย GPRS,3G,GSP

ความหมายและอธิบาย GPRS,3G,GSP

GPRS  ย่อมาจาก General Packet Radio Service เป็นเทคโนโลียีที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้คนใช้งานอินเตอร์ทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งใช้ได้กับระบบโทรศัพท์ GSM
GPRS นี้ช่วยให้เชื่อมต่ออินเตอร์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ง่ายขึ้นและช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังช่วยให้ส่งข้อมูลได้รวดเร็วทำให้ระยะเวลาในการส่งข้อมูลเร็วขึ้น ถึงแม้จะอยู่ในช่วงเวลาที่มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตมาก

GPRS มีข้อดีมากกว่าระบบ GSM เดิมอย่างไร
          - GPRS มีความเร็วที่เพิ่มขึ้น เป็น 40 Kbps จาก GSM คือ 9.6 Kbps 
          - GPRS สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา (Always On) โดยไม่เสียค่าบริการ 
          - GPRS สามารถโทรออก และรับสายโทรเข้าได้ ในขณะที่กำลังเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่
          - GPRSจะเสียค่าบริการจากจำนวนข้อมูลที่เราทำการรับ หรือส่ง (Download หรือ Upload) เท่านั้น
 บริการในระบบ GPRS
          ด้วยโทรศัพท์มือถือในระบบ GPRS สามารถเข้าสู่บริการ non voice ที่หลากหลายจาก mobileLIFE โดยบริการใหม่ล่าสุดคือบริการ mClose2me, mDiscount, และ Advanced Mail จาก mMail นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้บริการอื่นๆที่มีอยู่เดิม เช่น mInfo, mEntertain, mBanking, mMail, mChat, mShopping และ mMessaging ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นได้อีกด้วย  นอกจากนี้คือถ้าใช้โทรศัพท์มือถือระบบ GPRS ต่อเชื่อมเข้ากับ Computer Notebook ของคุณ คุณจะสามารถ Browse สู่โลกอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายดายทุกที่ ทุกเวลา และยังสามารถรับ ส่งข้อมูล ข่าวสารในรูปแบบของ Video ไม่ว่าจะเป็นรายการกีฬา, ละคร, ข่าว, และ ข้อมูลสภาพการจราจร ที่จะทำให้ชีวิตได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น

รูปแบบการให้บริการของ GPRS
            - E-Mail เป็นบริการพื้นฐานที่มีคนนิยมใช้งานมากที่สุดสำหรับการส่งข้อความ 
          Textual And Visual Information บริการนี้เป็นข้อแตกต่างที่ GPRS เหนือกว่า GSM ทั่วไป โดยทำให้สามารถส่งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพกราฟิกไปยังโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
           - Still Images เป็นการส่งภาพนิ่งความละเอียดสูงไปมาระหว่างเครื่องด้วยกันได้ ทำให้สามารถส่งผ่านความรู้สึกดีๆ ผ่านภาพถ่าย หรือการ์ดอวยพรได้เลย รวมทั้งภาพที่ถ่ายได้จากกล้องดิจิตอล ก็สามารถโอนแล้วส่งต่อไปได้ทันที
           - Moving Images นอกเหนือจากภาพนิ่งแล้ว ภาพเคลื่อนไหวก็สามารถส่งต่อกันไปได้เช่นกัน เช่น การประชุมทางไกล หรือ การส่งภาพจากกล้องวงจรปิดไปยังโทรศัพท์มือถือ ในกรณีประยุกต์ใช้กับระบบรักษาความปลอดภัย
           - Chat เป็นคุณสมบัติที่คงจะถูกใจของผู้รักการคุยแบบไม่ใช้เสียง ซึ่งสามารถสนทนากันได้ทั้งแบบเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มได้อย่างสบายใจ ซึ่งจุดเด่นที่สำหรับ สามารถ Chat ได้ทุกที่ที่อยากจะ Chat
           - Web Browsing เป็นการเข้าสู่ World Wide Web ด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งความเร็วมีให้เลือกตั้งแต่ 56 Kbps ไปจนถึง 112 Kbps การท่องเว็บจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แม้รูปแบบการแสดงผลจะแตกต่างจากการท่องเว็บ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง
           - File Transfer เป็นบริการโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลซึ่งน่าจะใช้งานกันอย่างแพร่หลายขึ้น GPRS เพราะความเร็วดูจะเหนือกว่าการใช้งานผ่านโมเด็ม กับโทรศัพท์พื้นฐานที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาก โดยจะรองรับกับโปรโตคอล FTP และแอพพลิเคชั่นที่อ่านข้อความอย่าง Acrobat Reader
           - Audio แน่นอนว่าโทรศัพท์ต้องมีเสียง แต่บริการด้านเสียงของ GPRS จะเหนือกว่าโทรศัพท์มือถือเดิม ๆ ที่เรารู้จัก เนื่องจากความคมชัดของสัญญาณเสียงที่เหนือกว่า และยังประยุกต์ใช้ในการเก็บไฟล์เสียงเพื่อนำไปใช้งานในด้านต่างๆ ด้วย เช่น การวิเคราะห็รายละเอียดของเสียงในงานของตำรวจ เป็นต้น
           - Remote LAN Access เราสามารถเข้าถึงเครือข่ายความพิวเตอร์ โดยใช้โทรศัพท์มือถือ แทนเบอร์โทรศัพท์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านได้อย่างง่ายดาย ซึ่งความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลจะเหนือกว่าโทรศัพท์พิ้นฐานทั่วไป
           - Vehicle Positioning เป็นความสามารถในการบอกตำแหน่งของยานพาหนะที่เราใช้อยู่ โดยจะสามารถเชื่อมต่อกับดาวเทียม ซึ่งจะสามารถบอกตำแหน่งที่เราอยู่โดยอ้างอิงกับ เครื่องโทรศัพท์มือถือได้อย่างแม่นยำ

ประโยชน์ของ GPRS
         - ประหยัดค่าใช้จ่าย  เทคโนโลยี GPRS จะทำให้การคิดอัตราค่าบริการในการใช้อินเตอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในการรับ และส่งข้อมูล ไม่ใช่ช่วงเวลาในการเชื่อมต่อ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ จ่ายเพียงแค่อัตราค่าบริการในการดาวน์โหลด และอัพโหลดเท่านั้น
         - รวดเร็วยิ่งขึ้น  GPRS จะช่วยให้ท่านเชื่อมต่อ และรับข้อมูลจ่าง ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ GSM ทั่วไป ทำให้การเข้าสู่ web หรือการรับส่งe-mail เป็นไปอย่างสะดวก และง่ายดาย
         - คุ้มค่า  เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อย แต่รับผลตอบแทนจากการรับ-ส่งข้อมูลอย่างมากมาย
         - น่าใช้  GPRS ทำให้ท่านได้รับข้อมูลในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบข้อความ หรือรูปแบบมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบไปด้วยรูปภาพ เสียง และวีดิโอ ทำให้การติดต่อสื่อสารของคุณผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ซ้ำซากอีกต่อไป


3G


ยุคที่ 1 หรือ 1G (First Generation)




เป็นยุคของโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ (Cellular Phone) คือการให้บริการการสื่อสารด้วยเสียงพูดคุยเพียงอย่างเดียวหรือสามารถ รับสายและโทรออกได้เท่านั้นจะ ไม่สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ ได้เช่น การส่ง SMS หรือ ข้อความ  1G จะใช้สัญญาณอนาล็อก (Analog signal)ในการสื่อสาร คือ ใช้สัญญาณวิทยุเป็นตัวส่งคลื่นเสียง จะใช้คลื่นความถี่ที่ 824-894 เมกะเฮิรตซ์ ใช้หลักการการส่งสัญญาณพื้นฐานแบบ FDMA (Frequency Division Multiple Access) คือใช้วิธีการแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องความถี่ย่อยหลายๆ ช่อง ซึ่งผู้ใช้บริการจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงช่องสัญญาณเฉพาะที่ว่าง จึงทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ การขยายจำนวนเลขหมายทำไม่ได้มาก ตัวอย่างบริการสื่อสารไร้สายยุค 1G คือโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ AMPS (Advanced Mobile Phone Service) ความถี่ที่ใช้คือ 800 เมกะเฮิรตซ์ เป็นต้นด้วยแต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีที่ไม่สามารถขยายจำนวนเลขหมาย และขยายแถบความถี่ และโทรศัพท์เซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังงานไฟฟ้ามากจึงได้เริ่มมีการพัฒนาเข้าสู่การสื่อสารไร้สายยุคที่ 2 หรือ 2G (Second Generation) 


ยุคที่ 2 หรือ 2G (Second Generation)



ยุคที่ 2 หรือ 2G (Second Generation) เริ่มมีการนำเทคโนโลยีระบบดิจิทัล (Digital Cellular) เข้ามาใช้ โดยมีการบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิทัลให้มีขนาดข้อมูลที่น้อยลงเหลือเพียง 9 กิโลบิตต่อวินาที (kbit/Sec) ต่อช่องสัญญาณ และส่งทางคลื่นไมโครเวฟการติดต่อระหว่างโทรศัพท์เคลื่อนที่และช่องสัญญาณซึ่งมีหลายวิธี เช่น
-          -  เทคนิค TDMA (Time Division Multiple Access) เป็นการนำช่องความถี่มาแบ่งออกเป็นช่องเล็กๆ และมีการสลับกันใช้ช่องสัญญาณในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้นช่องสื่อสารวิทยุจะมีการแบ่งช่วงเวลาในการใช้งานออกเป็นหลายช่องสลับกันไป ทำให้  ช่องเวลา (time slot) ขยายช่องสัญญาณความถี่ได้มากขึ้น โดยมีการติดต่อกับสถานีเบสที่ช่วงความถี่ 890-960 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูลาร์ชนิด ดิจิทัลเซลลูลาร์ที่ใช้เทคนิคนี้ คือ GSM (Global System for Mobile Communication)
-         -  เทคนิค CDMA (Code Division Multiple Access) ซึ่งระบบนี้จะไม่มีการแบ่งช่องความถี่ออกเป็นช่องเวลาเหมือน TDMA แต่ใช้วิธีการแบ่งช่องสัญญาณด้วยรหัส (Code Division) คือผู้ใช้โทรศัพท์จะมีรหัสที่แตกต่างกัน และรหัสจะทำการถอดสัญญาณที่ถูกส่งมาจากสถานีฐาน ทำให้ผู้ใช้แต่ละคนได้รับข้อมูลของตนเอง เทคนิคนี้ทำให้ผู้ใช้บริการเข้าช่องความถี่ได้พร้อมๆ กัน รองรับผู้ใช้บริการจำนวนหลายๆ รายพร้อมกัน
-          ในยุค 2G เราสามารถ รับ-ส่งข้อมูลต่างๆและติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน หรือที่เรียกว่า cell site
-          และ ก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization) ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming


ในยุค 2G เป็นยุคเริ่มต้นแห่งการเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือดังนั้น ราคาของโทรศัพท์มือถือจึงเริ่มต่ำลง กว่ายุค 1G ทำให้ปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีมากขึ้น และการส่งข้อมูลของยุค 2G นี้ เริ่มมีการ  Download Ringtone ,Wallpaper , Graphic ต่างๆ แต่ก็จะจำกัดอยู่ที่การ Downlaod Ringtone แบบ Monotone และ ภาพ Graphic ต่างๆก็เป็นเพียงแค่ภาพขาว-ดำที่มีความละเอียดต่ำเท่านั้น หรือเรียกว่า โทรศัพท์มือถือจอขาวดำ นั่นเอง



ยุคที่ 3 หรือ 3หรือ (Third Generation)







ยุคที่ 3 หรือ 3G หรือ (Third Generation) ระบบ 3G ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสาร  จุดเด่นที่สุดของ 3G นั้น เป็นเรื่องของความเร็วในการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้ประสิทธิภาพในการรับ ส่งข้อมูลต่างๆ รวดเร็วมากขึ้น และยังสามารถใช้ บริการ Multimedia ได้อย่างสมบูรณ์แบบ มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การรับ-ส่ง File ที่มีขนาดใหญ่ , การใช้บริการ Video/Call Conference , Download เพลง , ดู TV Streaming ต่างๆ   3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า 1G และ 2G และโทรศัพท์จะเป็นจอสี หรือเป็นโทรศัพท์สมาร์โฟนนั่นเอง



ที่มารูปภาพ


GSP

GPS ย่อมาจาก (Global Positioning System)คือ ระบบบอกตำแหน่งบนผิวโลก โดยอาศัยพิกัดสัญญาณที่ส่งมาจากดาวเทียมแล้วนำทางแล้วเรานำมาคำนวณหาตำแหน่งจากจุดที่ส่งค่าพิกัดมามันจะบอกเป็นค่าละติจูด(Latitude) ลองติจูด(Longitude) ซึ่งเราสามารถนำค่าที่ได้ไปคำนวณใน Google Map Google Earth หรือ GPS Navigator แล้วก็จะรู้ตำแหน่งว่าพิกัดนั้นอยู่บริเวณใด  แนวคิดในการพัฒนาระบบจีพีเอส เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 เมื่อนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา นำโดย Dr. Richard B. Kershner ได้ติดตามการส่งดาวเทียมสปุตนิกของโซเวียต และพบปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ของคลื่นวิทยุที่ส่งมาจากดาวเทียม พวกเขาพบว่าหากทราบตำแหน่งที่แน่นอนบนพื้นผิวโลก ก็สามารถระบุตำแหน่งของดาวเทียมได้จากการตรวจวัดดอปเปลอร์ และหากทราบตำแหน่งที่แน่นอนของดาวเทียม ก็สามารถระบุตำแหน่งบนพื้นโลกได้ ในทางกลับกันกองทัพเรือสหรัฐได้ทดลองระบบนำทางด้วยดาวเทียม ชื่อ TRANSIT เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1960 ประกอบด้วยดาวเทียมจำนวน 5 ดวง ส่วนดาวเทียมที่ใช้ในระบบจีพีเอส (GPS Block-I) ส่งขึ้นทดลองเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1978 เพื่อใช้ในทางการทหาร  เมื่อ ค.ศ. 1983 หลังจากเกิดเหตุการณ์โคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007 ของเกาหลีใต้ บินพลัดหลงเข้าไปในน่านฟ้าของสหภาพโซเวียต และถูกยิงตก ผู้โดยสาร 269 คนเสียชีวิตทั้งหมด ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนได้ประกาศว่า เมื่อพัฒนาระบบจีพีเอสแล้วเสร็จ จะอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปใช้งานได้

ปัจจัยที่มีผลต่อความถูกต้องของการบอกตำแหน่งโดยใช้ GSP
- จำนวนดาวเทียม จำนวนยิ่งมากยิ่งมีโอกาสที่จะได้ความถูกต้องที่สูงขึ้นจากการวิเคราะห์ตำแหน่ง
- ตำแหน่งและการเรียงตัวของดาวเทียม (satellite configuration) 
- ชนิดของสัญญาณที่นำมาใช้วิเคราะห์ (code หรือ phase หรือทั้งสองอย่าง)
- จำนวนสัญญาณคลื่นความถี่ (ความถี่เดี่ยว หรือ ความถี่คู่ หรือ มากกว่า)
- เทคนิคการขจัดผลกระทบเนื่องจากชั้นไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere เป็นชั้นอากาศเบาบาง ที่ประกอบด้วยแก๊สที่แตกตัวเป็นประจุไฟฟ้าบวกและลบ)
- เทคนิคการประมาณผลกระทบจากโทรโปสเฟียร์ (troposphere เป็นชั้นอากาศที่เราอาศัยอยู่)
- คุณภาพของข้อมูลตำแหน่งของดาวเทียมว่าใช้จากแหล่งใด

การทำงานของระบบนำทางด้วย GPS

 

ผู้ใช้จะต้องมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมหรือมีอุปกรณ์นำทางเช่นโทรศัพท์มือถือที่มีแอปแผนที่ เมื่อผู้ใช้นำเครื่องไปใช้งานมีการเปิดรับสัญญาณ GPS แล้วตัวโปรแกรมจะแสดงตำแหน่งปัจจุบันบนแผนที่ จากนั้นก็ใส่ตำแหน่งที่จะเดินทาง  แผนที่สำหรับนำทางจะเป็นแผนที่พิเศษที่มีการกำหนดทิศทางการจราจร เช่น การจราจรแบบชิดซ้ายหรือชิดขวา ข้อมูลการเดินรถทางเดียว จุดสำคัญต่างๆ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ต่างๆ ฝังไว้ในข้อมูลแผนที่ที่ได้ทำการสำรวจและตั้งค่าไว้แล้ว ในแต่ละทางแยกก็จะมีการกำหนดค่าเอาไว้ด้วยเช่นกันเพื่อให้ตัวโปรแกรมทำการ เลือกการเชื่อมต่อของเส้นทางจนถึงจุดหมายที่ได้เลือกไว้การ คำนวณเส้นทางนี้จะถูกคำนวณให้เสร็จตั่งแต่แรก และตัวโปรแกรมจะแสดงผลทั้งภาพและเสียงตามตำแหน่งจริงที่อยู่ ณ.จุดนั้นๆ หากมีการเดินทางออกนอกเส้นทางที่ได้กำหนดไว้ เครื่องจะทำการเตือนให้ผู้ใช้ทราบและจะคำนวณให้พยายามกลับสู่เส้นทางที่ได้ วางแผนไว้ก่อน หากการออกนอกเส้นทางนั้นอยู่เกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ก็จะมีการคำนวณเส้นทาง ให้ใหม่เองอัตโนมัติ
 การเตือนด้วยเสียง นำทางก็จะทำงานสอดคล้องกับการเลือกเส้นทาง เช่นถ้าโปรแกรมเลือกเส้นทางที่จะต้องไปทางขวาก็จะกำหนดให้มีการแสดงเสียง เตือนให้เลี้ยวขวา โดยแต่ละโปรแกรมก็จะมีการกำหนดเตือนไว้ล่วงหน้าว่าจะเตือนก่อนจุดเลี้ยว เท่าใด ส่วนการแสดงทิศทางก็จะมีการบอกไว้ล่วงหน้าเช่นกันแล้วแต่ว่าจะกำหนดไว้ล่วง หน้ากี่จุด บางโปรแกรมก็กำหนดไว้จุดเดียว บางโปรแกรมกำหนดไว้สองจุด หรือบางโปรแกรมก็สามารถเลือกการแสดงได้ตามความต้องการของผู้ใช้


ประโยชน์การใช้งานเกี่ยวกับ จีพีเอส(GPS)

- การติดตามรถยนต์
เป็นการป้องกันรถยนต์สูญหาย โดยเมื่อรถมีการเคลื่อนที่ระบบที่เราตั้งไว้เมื่อมีการถูกโจรกรรมระบบจะตัดการทำงานของรถ เช่น สามารถสั่งเครื่องยนต์ให้ดับได้ และรถจะไม่สามารถเคลื่อนที่ต่อไปได้ อีกกรณีเราสามารถบอกตำแหน่งให้กับตำรวจ เพื่อการติดตาม ค้นหา สกัดจับได้ และยังสามารถฟังเสียงสนทนาได้

 - การนำทาง
นำไปใช้กับระบบนำทางหรือGPS นำทาง เมื่อเราออกเดินทางโดยไม่ทราบตำแหน่งของจุดที่เราจะไป เราสามารถพึ่งระบบนำทางจากเจ้า จีพีเอส ได้ ชึ่งระบบนี้สามารถบอกตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลก สามารถใช้กับโทรศัพท์มือถือที่มีแอปแผนที่ได้โดยก่อนอื่นเราต้องกำหนดตำแหน่งที่เราอยู่ จากนั้นก็กำหนดตำแหน่งที่เราจะไป แล้วระบบก็จะบอกทิศทางในการเดินทางให้
- การกำหนดพิกัดของสถานที่ต่าง ๆ
- การใช้ประโยชน์กับที่ดินโครงข่ายหมุดดาวเทียม GPS ของกรมที่ดิน
- การกำหนดจุดเพื่อบรรเทาสาธารณะภัย เช่นเสื้อกักชูชีพที่มีเครื่องส่ง GPS
- การวางผังการจัดส่งสินค้า
- การติดตามบุคคล
- การติดตามการค้ายาเสพติด
- การนำไปใช้ทางการทหาร
- การนำไปใช้กับการกีฬา
- การสันทนาการ เช่น กำหนดจุดตกปลา และหาปลา
- การท่องเที่ยว

 ที่มารูปภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น