วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายและอธิบาย Hardware, Software และ Peopleware

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)


                คืออุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ที่เห็นกันทั่วไป ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถจับต้องได้  คอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบหลักๆ คือ จอภาพ  เคส  หน่วยประมวลผลกลาง แป้นพิมพ์  เมาส์  และเครื่องขับแผ่นดิสก์  และจะมีอุปกรณ์อื่น ๆ  ที่นำมาประกอบเพิ่มเติม  เช่น  ซีดีรอมไดรฟ์  สำหรับใช้งานด้านสื่อประสม หรือ มัลติมีเดีย (Multimedia)  โมเด็ม (Modem) ใช้สำหรับต่อเชื่อมเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเป็นระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลำโพง เพื่อใช้ในแสดงผลในรูปแบบของเสียง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เป็นต้น  เครื่องปริ้น เพื่อใช้ในการแสดงผลเอกสารออกมาในรูปแบบของกระดาษ 
อุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ
1.หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU (Central Processing Unit )
2. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
3.หน่วยแสดงผล (Output Unit)
4. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)
โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังนี้

     1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)


        
                หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU (Central Processing Unit ) หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า เฮิร์ท(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูงตามไปด้วย ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย การเลือกซื้อจะต้องเลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการนำไปใช้ เช่นต้องการนำไปใช้งานกราฟิกส์ ที่มีการประมวลผลมาก จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องที่มีการประมวลผลได้เร็ว ส่วนการพิมพ์รายงานทั่วไปใช้เครื่องที่ความเร็ว 100 MHz ก็พอ  CPU จะอยู่ในเคส เคสมีทั้งแบบแนวตั้งและแนวนอน

  2. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)



    


                 หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่ แป้นพิมพ์ สำหรับพิมพ์ตัวอักษรและอักขระต่าง ๆ เมาส์สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม เมาส์ปากกา สำหรับวาดรูป  สแกนเนอร์สำหรับสแกนรูปภาพ จอยสติ๊ก สำหรับเล่นเกมส์ ไมโครโฟนสำหรับพูดอัดเสียง  และกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพ และนำเข้าไปเก็บไว้ ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์

  3. หน่วยแสดงผล (Output Unit)





             หน่วยแสดงผล (Output Unit) มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือ เสียง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่ จอภาพ (Monitor) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ เครื่องพิมพ์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง ออกทางกระดาษพิมพ์ ลำโพง (Speaker) แสดงผลในรูปแบบของเสียง  หูฟังสำหรับแสดงผลในรูปแบบเสียงโดยไม่รบกวนคนรอบข้าง เป็นต้น

4. หน่วยความจำ (Memory Unit)


         หน่วยความจำ (Memory Unit) มีหน้าที่ในการจำข้อมูล ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดคือ หน่วยความถาวร (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา และหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งคือ หน่วยความจำชั่วคราว (RAM : Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่จะจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น หน่วยความจำชั่วคราว ถือเป็นหน่วยความจำหลักภายในเครื่อง สามารถซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ เรียกกันทั่วไปคือหน่วยความจำแรม ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แรมแบบ SDRAM , RDRAM เป็นต้น

  5. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)











         หน่วยความจำสำรองคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในครั้งต่อไปหรือจะมีการนำข้อมูลไปแสดงผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในครั้งต่อไป จะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งหน่วยความจำสำรองมีอยู่หลายชนิด เช่นฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมท์ไดร์ฟ เมมโมรี่การ์ด เป็นต้น

ที่มารูปภาพ



ซอฟต์แวร์ (Software)

ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเรียกว่า โปรแกรม  ก็ได้  ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วน
นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมจะใช้ภาษาในการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมคำนวณค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ  โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)
          หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการติดต่อประสานการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ ซอฟต์แวร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้
          1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux ,Windows me,Windows 7

          1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นและเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น  , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data),โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program

          1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่มากับอุปกรณ์นั้นๆเป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อโทรศัพท์มาใหม่และต้องการนำข้อมูลลงเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็จะต้องมีการลงโปรแกรมที่ติดมากับโทรศัพท์ ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้
  โดยปกติโปรแกรม windows ที่ใช้อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดเวอร์เอง เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์

          1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร

ตัวแปลภาษาแบ่งได้ 3 ตัวแปล ดังนี้
          - แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง เช่นแปลจากภาษา Assembly เป็นภาษาเครื่อง
          - อินเทอพรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทีละบรรทัดคำสั่ง เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา Basic ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษาเครื่องทีละบรรทัดคำสั่ง
          - คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียว เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา C ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษา เครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียว ซึ่งจะเป็นที่นิยมมากกว่า ข้อ 2


2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

          ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร
 ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

          2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น ซอฟต์แวร์ ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น ซอฟต์แวร์ สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน   ซอฟต์แวร์ สำหรับการคิดค่าน้ำ ค่าไฟ  ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ

          2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน  จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์จัดทำแผ่นพับ จัดทำเอกสารให้มีความน่าอ่านมากยิ่งขึ้น  การพิมพ์สมการหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

การใช้งานทั่วไปก็จะมี ซอฟต์แวร์ ต่างๆ เช่น
-ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร
          - ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ
          - ซอฟต์แวร์งานนำเสนอ
          - ซอฟต์แวร์งานกราฟิก
          - ซอฟต์แวร์สื่อสิ่งพิมพ์





บุคลากร (Peopleware)

              บุคลากร คือ ผู้ปฏิบัติงานในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ ปฏิบัติงานตามกระบวนการในกิจกรรมต่างๆ ได้แก่  การสร้างหรือเก็บรวบรวมข้อมูล หรืออาจทำหน้าที่ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ใหม่ๆขึ้นมาให้ตรงตามความต้องการและในการประมวลผลของผู้ใช้  และอาจมีหน้าที่เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาโปรแกรมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นหรือมีความสอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้   และบุคลากรทางคอมพิวเตอร์บางกลุ่มก็จะทำทำหน้าที่สร้างกระบวนการวิธีการให้แก่บุคลากรทางคอมพิวเตอร์กลุ่มอื่นๆ  เพื่อให้การทำงานหรือใช้งานด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 บุคคลที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มีหลายประเภท  ซึ่งแต่ละประเภทก็มีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกันไปดังนี้

1.ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User)
2. ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter)
3. ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer)
4. ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis)
5. ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager)


1.ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ เช่น การพิมพ์งาน  การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  การ e-mail เป็นต้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ก็ได้

2. ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter) หมายถึงผู้ดูแลและคอยตรวจสอบสภาพเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีสภาพความพร้อมที่จะทำงานได้ตลอดเวลา กลุ่มนี้จะเรียนรู้เทคนิคการรักษา ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดการต่อเชื่อม และสามารถการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ได้ค่อนข้างดี 

3. ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer) หมายถึงผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามที่ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้กำหนด เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร บุคคลกลุ่มนี้จะศึกษามาทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ สามารถเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์โดยภาษาต่างๆ ได้อย่างชำนาญ และเป็นนักพัฒนาโปรแกรมให้ผู้ใช้คนอื่นๆเอาไปใช้งาน ผู้เขียน

4. ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis) เป็นผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาว่าองค์กรควรจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดและได้คุณภาพดี มีหน้าที่เป็นผู้ออกแบบโปรแกรมก่อนที่จะส่งงานไปให้โปรแกรมเมอร์ทำงาน

5. ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager) เป็นผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กรและเป็นผู้มีหน้าที่บริหารทรัพยากรทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร

















































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น